เกาหลีใต้พร้อมทดสอบกังหันลมลอยน้ำนอกชายฝั่งแห่งแรกปีหน้านี้
โครงการกังหันลมลอยน้ำแห่งแรกของเกาหลีใต้ กำลังผลิต 750 กิโลวัตต์
ในเมืองอุลซาน พร้อมจะทดสอบระบบภายในปี 2562 ในช่วงครึ่งปีแรก
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอุลซาน บริษัท Mastek
Heavy Industries บริษัท Unison และบริษัท
Seho Engineering Co มีเงินลงทุน 14.27 ล้านเหรียญสหรัฐ
เริ่มดำเนินการในปี 2559 เมื่อแล้วเสร็จ
จะทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีฟาร์มกังหันลมลอยน้ำเป็นลำดับที่ 5 ของโลก
ต่อจากประเทศนอร์เวย์ อังกฤษ ญี่ปุ่น และโปรตุเกส
นอกจากโครงการกังหันลมแห่งนี้ เมืองอุลซานยังมีแผนจะติดตั้งกังหันลมลอยน้ำนอกชายฝั่งเพิ่มเติมอีก
โดยมีเป้าหมายจะติดตั้งกังหันลมลอยน้ำทั้งหมดจำนวน 50 ต้นภายในปี 2565
ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านวอน
สัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าของเกาหลีใต้ ปี 2560
แยกตามประเภทเชื้อเพลิง
ทั้งนี้
เกาหลีใต้มีแผนจะติดตั้งฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งกำลังผลิตรวมทั้งหมด 12,000
เมกะวัตต์ เพื่อตอบสนองนโยบายพลังงานในระยะยาว
ที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าเป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2573
สำหรับประเทศไทย
รัฐบาลและกระทรวงพลังงานส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมทั้งในภาครัฐและเอกชน
ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้สนองนโยบายของภาครัฐ
พัฒนาโครงการพลังงานลม เช่น โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ สอง จ.
นครราชสีมา ที่ได้ติดตั้งกังหันลมจำนวน 12 ต้น กำลังผลิตรวม 24 เมกะวัตต์
ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2560
กังหันลมลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
นอกจากนี้ กฟผ. กำลังดำเนินการต่อยอดนำระบบพัฒนาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม
(Wind Hydrogen Hybrid) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมในรูปของก๊าซไฮโดรเจน
เพื่อนำมาจับคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลิตไฟฟ้าขนาด
300 กิโลวัตต์ สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้กับศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง ทั้งนี้
ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่นำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาใช้กักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมซึ่งจะช่วยให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด
24 ชั่วโมง
แปลและเรียบเรียง : สุภร เหลืองกำจร
ข้อมูลจาก South Korea 1st
floating offshore wind turbine to begin test operation next year
ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย