ก.พลังงาน-ก.อุตสาหรรม โชว์ผล
รง.อุตสาหกรรมร่วมอนุรักษ์พลังงาน
นายสมชาย หาญหิรัญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังจัดงานแถลงผลการดำเนินงาน
โครงการความร่วมมือระหว่าง พพ. กับ กรอ.
ในการขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
กลุ่มงานโครงการสาธิตหรือริเริ่ม ปีงบประมาณ 2561 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม
มีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันของภาคอุตสาหกรรม
ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระบบไอน้ำสำหรับโรงงานควบคุม
ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อต้องการยกระดับภาพอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรม 4.0
โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องใช้หม้อน้ำ (Boiler)ในกระบวนการผลิต
ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการขับเคลื่อนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม
และมีการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาองค์ความรู้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องจักรภายในโรงงานให้สามารถลดต้นทุนพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผู้ประกอบการ
"ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะเข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งในด้านเทคโนโลยี
แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมทั้งแหล่งเงินทุน
เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยเฉพาะบอยเลอร์ (Boiler)
ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่สำคัญที่จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้"นายสมชาย
กล่าว
ความร่วมมือในครั้งนี้ยังมีเป้าหมายที่ต้องการยกระดับภาคอุตสาหกรรม
ให้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตามแนวทาง Factory 4.0
ที่รัฐบาลให้ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและชุมชน
โดยเฉพาะการดูแลด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของโรงงานอุตสาหกรรม (Factory
Energy Code) เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดอ้างอิงในการจัดตั้งหรือดัดแปลงโรงงานที่มีแนวโน้มการใช้พลังงานจำนวนมาก
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ
ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2561
ได้ส่งผลให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าโครงการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เป็นรูปธรรม 7 โครงการ
ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานในวงเงิน 97,527,290 บาท
ทำให้เกิดผลการประหยัดพลังงานทั้งสิ้น (ไฟฟ้าและเชื้อเพลิง) 37,166 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งสิ้น 268,596
ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า/ปี หรือคิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น
193,303,617 บาท/ปี
สำหรับแนวทางความร่วมมือระหว่าง
ก.พลังงาน-ก.อุตสาหรรม
ในการขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคโรงงานอุตสาหกรรม ใน 7 โครงการ
ประกอบด้วย 1. โครงการศึกษาแนวทางการบูรณาการระหว่าง พพ. กับ กรอ.
โดยใช้กลไกอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) 2.โครงการนำร่องขยายผลการเพิ่มประสิทธิภาพหม้อไอน้ำโดยวิศวกรหม้อน้ำหรือวิศวกรพลังงาน
3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอน้ำสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล(VSPP) 4.
โครงการยกระดับประสิทธิภาพพลังงานหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนในภาคอุตสาหกรรม
5. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพหม้อไอน้ำสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม (Boiler
efficiency for SMEs) 6.
โครงการวิศวกรรมเชิงลึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม 7.
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของโรงงานอุตสาหกรรม
(Factory Energy Code)