GPSC ติดเครื่องเดินหน้าลงทุนผลิตไฟฟ้า
250 MW
นายชวลิต ทิพพาวนิช
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์
ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม
ปตท. เปิดเผยว่าเมื่อวานนี้ (21 มกราคม 2562) คณะกรรมการ GPSC ได้มีมติเห็นชอบแผนการลงทุนในหน่วยผลิตไฟฟ้า
(Energy Recovery Unit :
ERU) ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้า
250 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 175 ตันต่อชั่วโมง ให้กับโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project : CFP) ของ
บมจ.ไทยออยล์ มูลค่าลงทุน 757 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
"โครงการ CFP ของไทยออยล์
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน
ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์
ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และขยายกำลังการกลั่นน้ำมันเป็นระดับ
4 แสนบาร์เรล/วัน และในโครงการนี้ ERUเป็นหน่วยผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ
ซึ่งจะใช้กากน้ำมันที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ของโครงการ CFPเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต
เพื่อลดภาระการลงทุนโครงการ CFP
ไทยออยล์จึงจัดหาผู้ลงทุนแทนการลงทุนจัดสร้างเองทั้งหมด
ซึ่ง GPSC ได้รับความไว้วางใจในการพัฒนาโครงการ
ERU มาตั้งแต่โครงการ
CFP ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาออกแบบ
เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจสาธารณูปโภค โดยการลงทุนโครงการ ERU ในครั้งนี้
เป็นการเพิ่มโอกาสการสร้างการเติบโตในธุรกิจจากเชื้อเพลิงในรูปแบบที่แตกต่างออกไป" นายชวลิตกล่าว
สำหรับการพัฒนาหน่วยผลิตไฟฟ้าหรือ ERU ดังกล่าว
GPSC จะดำเนินการผ่านบริษัทย่อยที่
GPSC ถือหุ้น
100% ส่วนพื้นที่ตั้ง ERU จะเป็นสัญญาเช่าช่วงจากไทยออยล์และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างหลังมีการลงนามในสัญญา
โดยก่อสร้างจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 58 เดือน
หรือคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งแผนลงทุนครั้งนี้
เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในการเติบโตไปพร้อมกับกลุ่ม ปตท.
สร้างโอกาสการต่อยอดธุรกิจการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแตกต่างไปจากเดิม
เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต
นายชวลิตกล่าวว่า
แผนการลงทุนครั้งนี้จะทำให้ GPSC
มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมทั้งสิ้น
1,955 เมกะวัตต์ ไอน้ำรวมประมาณ 1,585
ตันต่อชั่วโมง ซึ่งในปี 2562 GPSC มีแผนเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์
(COD) ประกอบด้วย
โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว ได้แก่ โรงไฟฟ้าน้ำลิก 1 (NL1PC) ขนาดกำลังการผลิต
65 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี (XPCL) กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์
รวมทั้งโรงผลิตสาธารณูปการระยองแห่งที่ 4 กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 70
ตันต่อชั่วโมง และโรงผลิตสาธารณูปโภค 3 (CUP-3) ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) โรงไฟฟ้าประเภทพลังงานระบบโคเจนเนอเรชั่น
ขนาดกำลังการผลิต 15 เมกะวัตต์ สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ภายในปีนี้
นอกจากนี้ บริษัทฯ
ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามเงื่อนไขบังคับให้แล้วเสร็จในปีนี้
สำหรับปี 2563 มีโครงการส่วนต่อขยายของโรงไฟฟ้า นวนคร (NNEG) กำลังผลิต
60 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 10 ตันต่อชั่วโมง
ที่จะพร้อมเริ่มจ่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้กับลูกค้าได้
ซึ่งขณะนี้ทุกโครงการมีความคืบหน้าในการพัฒนา และมั่นใจว่าสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้