นายสมพงษ์ ปรีเปรม
ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยว่า
กฟภ.ได้นำโครงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid มาใช้ในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า
ทำให้สามารถบริหารจัดการการผลิต การส่ง และการจำหน่ายพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยโครงการนำร่องทำ Smart Grid ที่เมืองพัทยา
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะหรือ AMI ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัยประมาณ
120,000 ราย
ทั้งนี้จะมีการเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ โดยกฟภ.ได้มีการพัฒนาระบบ
เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ไฟได้ทราบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าขอตนเองได้ และสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ไปบริหารจัดการ
วางแผนการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการประหยัดค่าพลังงานได้ในอนาคต
นอกจากระบบมิเตอร์อัจฉริยะแล้ว กฟภ.
ยังได้ติดตั้งระบบ Smart Substation ด้วย
ระบบนี้จะทำให้การจัดการระบบไฟฟ้าในพื้นที่พัทยามีความรวดเร็ว ลดระยะ
เวลาการดับของไฟฟ้าให้น้อยลง และยังทำให้สามารถใช้ประโยชน์ของจากสถานีไฟฟ้า
สายไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยืดอายุการใช้งาน
รวมทั้งชะลอการลงทุนด้านสถานีไฟฟ้า สายไฟฟ้าลงได้
ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าที่จะไม่เพิ่มสูงขึ้นเหมือนอย่างในอดีต
และแก้ปัญหาไฟฟ้าดับให้น้อยลง
"ขณะเดียวกัน กฟภ.
อาจจะให้เอกชนร่วมลงทุนในการติดตั้งระบบ Smart Grid ในรูปแบบ
PPP ( Public Private Partnership) ซึ่งอาจจะกำหนดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนติดตั้ง
ดูแล และบำรุงรักษา ระบบมิเตอร์อัจฉริยะหรือ AMI" ผู้ว่าการ
กฟภ.กล่าว
ด้านนายเสกสรร เสริมพงศ์
รองผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า กฟภ.กล่าวเสริมว่า การนำระบบ Smart
Grid มาใช้
จะทำให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าของตัวเองได้ ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้
และกรณีเกิดไฟฟ้าดับ กฟภ. จะสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้กฟภ.ลดจำนวนหน่วยสูญเสีย
แก้ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็วขึ้น เช่น พื้นที่ไหนรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า
เราก็ตัดไฟในพื้นที่ที่มีปัญหาออก และก็ใช้วงจรข้างเคียงมาจ่ายไฟแทนแบบอัตโนมัติ
ซึ่งจะสามารถบริหารจัดการระบบไฟฟ้าให้มีการใช้งานได้เต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ประเทศก็สามารถวางแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ
สามารถลดโรงไฟฟ้าประเภท Peaking Plant ทำให้สามารถ
สร้างสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยในอนาคตก็จะมี รถไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งหากรถไฟฟ้ามีการชาร์จไฟฟ้ารวมกันเป็นจำนวนมากๆ
จะกระทบต่อระบบไฟฟ้าอย่างแน่นอน
กฟภ.ตระหนักถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี และได้เตรียมจัดทำโครงการต่าง
ๆเพื่อรองรับไว้ระดับหนึ่งแล้ว ระบบ Smart Grid ซึ่งมี
Smart Meter จะสามารถลดปัญหานี้ได้ ตัวอย่างเช่น
จะมีการเตรียมระบบบริหารจัดการ การชาร์จ จัดระยะเวลาการชาร์จให้เหมาะสม
โดยไม่กระทบกับความจำเป็นในการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือกระทบน้อยที่สุด