นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้เผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ
(ช่วงวันที่ 24 – 30 สิงหาคม 2563) ราคาน้ำมันดิบยังคงมีแนวโน้มทรงตัว
โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับลดลง
หลังอิรักตกลงที่จะร่วมมือปรับลดกำลังการผลิตลง ในเดือนส.ค. และ ก.ย. 63
ตามข้อตกลงร่วมของกลุ่มโอเปกพลัส ซึ่งได้ปรับลดการผลิตลงมากถึง 97%
ในเดือนกรกฏาคม ที่ผ่านมา รวมทั้งกำลังการผลิตของสหรัฐฯ
ที่มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม
มีปัจจัยต้านที่ต้องจับตาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ที่ยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ อินเดีย
และหลายประเทศในอเมริกาใต้
ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของโลก
สัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส
เฉลี่ยอยู่ที่ 44.40 และ 43.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.45 และ 0.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ผลกระทบจากเฮอร์ริเคนลอร่า พัดเข้าอ่าวเม็กซิโก และรัฐหลุยเซียนา โดย EIA มีรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ
(ณ วันที่ 21 ส.ค. 63) ปรับลดลงกว่า
4.7 ล้านบาร์เรล
และการลดกำลังการผลิตของอิรักจากข้อตกลงกลุ่มโอเปกพลัส
ราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเซีย
น้ำมันเบนซิน : ออกเทน 95, 92 และ 91 (Non-Oxy) เฉลี่ยอยู่ที่
49.13, 48.00 และ 48.88 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.28, 0.35
และ 0.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มีแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น
และคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ปรับลดลงเนื่องจากผลกระทบของเฮอริเคน
น้ำมันดีเซล : ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ
49.27 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว
0.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้ที่น้อยทั้งในตะวันออกกลางและเอเชีย
อุปทานที่ล้นตลาด และปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง
สำหรับ
ราคาน้ำมันไบโอดีเซลอ้างอิงเฉลี่ย (31 สิงหาคม- 6 กันยายน
2563) อยู่ที่ 23.56 บาทต่อลิตร
ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.50 บาทต่อลิตร และราคาเอทานอลอ้างอิง
สิงหาคม อยู่ที่ 23.16 บาทต่อลิตร โดยไม่เปลี่ยนแปลง
สถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงนี้ยังคงทรงตัว ปรับลงหรือขึ้นเพียงเล็กน้อย
ขึ้นอยู่กับการปรับราคาของผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามการแข่งขันอย่างเสรี นายวัฒพงษ์
กล่าว