นายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า
GGC ได้รับการจัดอันดับจาก
UN Global Compact โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation :
UN) เป็น 1 ใน 37
องค์กรธุรกิจยั่งยืนระดับโลก และ 1 ใน 2
องค์กรชั้นนำของไทยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุด (LEAD) 2
ปีซ้อน จากความมุ่งมั่นในการดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง
มุ่งขยายผลไปยังห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SDGs ของโลก
"GGC ดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Untied
Nation : UN) ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
สร้างคุณค่าและยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจให้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
โดยการนำแนวทาง การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
มาวางกลยุทธ์และนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินงานตามหลักการสากล 10
ประการที่ครอบคลุม 4 ด้านสําคัญ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม
และการต่อต้านทุจริต รวมไปถึงการดำเนินแผนงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคม
และในฐานะที่บริษัทฯ เป็นสมาชิกที่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ
ที่มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ปีนี้ GGC ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุด
(LEAD)ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
ปัจจุบัน GGC มีการดำเนินงานที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน
4 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจน (No Poverty) เป้าหมายที่ 7 :
พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) เป้าหมายที่
12 : แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and
Production) และเป้าหมายที่ 13 :
การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)
นอกจากนี้ GGC ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
โดยมียุทธศาสตร์หลัก อยู่ 3 เรื่องใหญ่ ๆ ที่จะดำเนินการภายใน 3-5 ปีข้างหน้า คือ
1.
ยุทธศาสตร์การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน (Strengthen Business as Usual
- BAU) เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทฯ
มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความท้าทาย
2.
ยุทธศาสตร์การเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Growth
Portfolio) ต่อยอดทางธุรกิจไปสู่ด้านเคมีภัณฑ์และพลาสติกชีวภาพ
ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมากขึ้น
3.
ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ (Sustainability Development) ด้วยการตั้งเป้าหมายและแผนงานสู่การเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมทั้ง
3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular
Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
และการปรับรูปแบบดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ
เข้าสู่การสร้างสมดุลทางธุรกิจขององค์กร
ด้วยการพัฒนากิจกรรมและโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน (Transform CSR to CSV & SE Model)"
นับเป็นความภาคภูมิใจของ GGC กับบทบาทความเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์
เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
GGC พร้อมแบ่งปันความสำเร็จนี้ในเวทีระดับโลก
และถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางการพัฒนาธุรกิจไปสู่องค์กรและภาคส่วนอื่นๆ
เพื่อร่วมกันพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป