บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ
เอ็กโก กรุ๊ป
คว้าประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai
Private Sector Collective Action Against Corruption: CAC) ต่อเนื่องเป็นครั้งที่
2
สะท้อนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่เข้มแข็งทั่วทั้งองค์กร
ขยายสู่การร่วมสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสของเครือข่ายภาคธุรกิจ
ในโอกาสเดียวกันนี้ โรงไฟฟ้าขนอม ในกลุ่มเอ็กโก ก็ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุสมาชิก
CAC ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 1
เช่นกัน
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า เอ็กโก กรุ๊ป
และบริษัทในกลุ่มมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าและพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง
ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โปร่งใส และตรวจสอบได้
โดยปราศจากการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังคำขวัญที่ว่า "เอ็กโก
กรุ๊ป ร่วมใจ โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน"
ด้วยการจัดทำนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
และกำหนดแนวปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้กับบุคลากรทุกระดับ
ตลอดจนมีการสื่อสารแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและต่อเนื่องจากระดับบริหารสู่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
รวมทั้งการจัดกิจกรรมทั้งภายนอกและภายในองค์กร
เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้าใจนโยบายของเอ็กโก กรุ๊ป ว่า
"คอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการทำธุรกรรมทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชน"
ทั้งนี้ เอ็กโก กรุ๊ป
ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นสมาชิก CAC ครั้งแรกในปี
2558 ซึ่งประกาศนียบัตรรับรองมีอายุ 3 ปี
จากนั้นได้รับการพิจารณาต่ออายุใบรับรองเป็นครั้งที่ 1
ในปี 2562 และครั้งที่ 2
ในปีนี้ นอกจากนี้เอ็กโก กรุ๊ป ยังได้ส่งเสริมให้บริษัทในกลุ่มเข้าเป็นสมาชิก CAC
อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีบริษัทในกลุ่มเอ็กโกเป็นสมาชิก CAC
จำนวน 3 บริษัท ได้แก่ เอ็กโก กรุ๊ป บริษัท เอ็กโก
เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) ซึ่งได้รับการรับรองครั้งแรกในปี 2559
และต่ออายุครั้งที่ 1 ในปี 2562
และบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (โรงไฟฟ้าขนอม) ซึ่งได้รับการรับรองครั้งแรกในปี 2561
และต่ออายุครั้งที่ 1 ในปีนี้
"การได้รับประกาศนียบัตรต่ออายุใบรับรอง
CAC ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2
ตอกย้ำการดำเนินนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่องของเอ็กโก กรุ๊ป
นโยบายดังกล่าวไม่เพียงแสดงถึงความรับผิดชอบและการสร้างความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
ซึ่งเป็นรากฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
แต่ยังเป็นการสนับสนุนความโปร่งใสในเครือข่ายภาคเอกชนและภาคธุรกิจไทยอีกด้วย"
นายเทพรัตน์ กล่าวสรุป
CAC ก่อตั้งขึ้นในปี
2553
เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำธุรกิจอย่างโปร่งใส
สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันด้วยความสมัครใจในรูปแบบของแนวร่วม
(Collective Action) ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมกับ CAC
จำนวน 1,245 บริษัท
ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ผ่านการรับรองว่ามีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อควบคุมความเสี่ยงในการคอร์รัปชันจำนวน
491 บริษัท