หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร
ผู้แทนการค้าไทย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน) หรือ CEA โดยมี นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน
ปตท. ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ปตท. ดร. ชาคริต พิชญางกูร
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ นายพิชิต วีรังคบุตร
รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมลงนาม ณ บริษัท ปตท. จำกัด
(มหาชน) สำนักงานใหญ่
นายนพดล ปิ่นสุภา
ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ด้วยสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ปตท.
จึงมุ่งพัฒนา
ต่อยอดธุรกิจด้วยการแสวงหานวัตกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแห่งอนาคต
และรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ให้พร้อมรับการแข่งขันบนเวทีโลก
ด้วยวิสัยทัศน์ "Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต
ด้วยพลังแห่งอนาคต" โดย ปตท.
ยังพร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
หลังจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก
ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ (Soft
Power) ของไทย ซึ่งเป็นจะกลไกสำคัญในการช่วยฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
รวมถึงเปิดโอกาสทางธุรกิจ
ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน
เพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือ Creative Economy ในประเทศไทยอีกด้วย
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ปตท. ได้ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส
จำกัด (ARV) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์
(Soft Power) อาทิ Volumatic 360,
Extended Reality (XR), Advanced Visual Effect (VFX), Drone และ
Metaverse ผนวกกับประสบการณ์และองค์ความรู้ของ CEA
มาร่วมส่งเสริมและยกระดับซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งการพัฒนาทักษะบุคลากร
การสนับสนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย
ดร. ชาคริต พิชญางกูร
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า
ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค
ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พลังซอฟท์พาวเวอร์ ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี
จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต
ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ให้พัฒนาทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คน
ก่อให้เกิด ‘ระบบนิเวศสร้างสรรค์’ ที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
และโครงสร้างสังคมที่ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้อย่างอิสระเสรี CEA ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
มีแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศไทย
เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว
ร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยใช้อุตสาหกรรมคอนเทนต์เป็นตัวนำ
โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทักษะศักยภาพของบุคลากรให้ได้มาตรฐานสากล
รองรับการผลิตสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทยไปสู่ตลาดโลก
ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศไทย พร้อมสนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
การเชื่อมโยงเครือข่ายนักสร้างสรรค์ ยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านงาน "เทศกาลงานออกแบบฯ" หรือที่เรียกว่า "Design
Week" หรือ "Design Festival" ในพื้นที่ต่าง
ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ Chiang Mai Design Week, Bangkok Design Week และ
Isan Creative Festival
พร้อมทั้งมีโปรเจ็กต์ร่วมกับ
ปตท.สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงชิ้นงานศิลปะที่มีคุณค่า
เช่น Virtual Reality, Augmented Reality และ Metaverse อีกทั้งการร่วมผลักดัน
University Roadshow ร่วมกับเครือข่าย miniTCDC Link ของ
CEA ที่มีมากกว่า 48 แห่งทั่วประเทศ ตลอดทั้งปี 2566 เพื่อให้นิสิต
นักศึกษาได้ใช้ Design Thinking ทดลองนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบในการยกระดับพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย
สำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือยกระดับซอฟท์พาวเวอร์นี้
ได้แก่ Content Lab โครงการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กลุ่มครีเอทีฟคอนเทนต์
เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์คุณภาพสู่ระดับสากล ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเข้ามาในประเทศไทย Soft Power & Technology Roadshow เพื่อให้ประชาชนทั่วไป
นิสิตนักศึกษา
รวมทั้งเครือข่ายนักสร้างสรรค์เข้าถึงตัวอย่างการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
โดยความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นการยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้ทัดเทียมสากล
และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป