นายวิโรจน์ มีนะพันธ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่-ด้านกำกับองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด
(มหาชน) กล่าวว่า
กลุ่มไทยออยล์เห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับการดำเนินงานในด้านต่างๆ
รวมถึงการนำมาสร้างประโยชน์ให้กับสังคม
จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น
การติดตั้งระบบ IoT (Internet of thing) และเครื่องสูบน้ำระบบพลังงานแสงอาทิตย์
มาสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กลุ่มเกษตรกรและผู้กระทำผิดที่ใกล้พ้นโทษ ผ่านโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม
กลุ่ม ปตท. ที่มุ่งเน้น Smart Farming และ Smart Marketing ควบคู่กัน
โดยได้ดำเนินโครงการดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
และจังหวัดชลบุรี รวม 3 โครงการ และได้ส่งมอบโครงการฯ
เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนและผู้ต้องขังนำไปต่อยอดความรู้ และสร้างรายได้ต่อไป
โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สามารถพัฒนาการเพาะปลูก เพิ่มรายได้ สร้างองค์ความรู้และวิชาชีพได้อย่างเป็นรูปธรรม
ดร. ปัทมา ธรรมดี
คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
เขตพื้นที่บางพระ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและขอบคุณกลุ่มไทยออยล์เป็นอย่างยิ่ง
ที่ได้ร่วมพัฒนาแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่
โดยมีคณาจารย์จากคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เข้าร่วมให้องค์ความรู้
ด้านการจัดการปัจจัยการผลิตและการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไทยราชมงคลฟาร์ม
นายสมพงศ์ สนิทมัจโร
รักษาการแทนผู้บัญชาการเรือนจำกลางชลบุรี กล่าวว่า
เรือนจำกลางชลบุรีมีแนวทางการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างการยอมรับ
เป็นคนดีเมื่อพ้นโทษให้แก่ผู้ต้องขัง
ซึ่งครอบคลุมการฝึกวิชาชีพด้านการเกษตรอินทรีย์
ให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ได้จริง พร้อมทั้งขอบคุณกลุ่มไทยออยล์ ที่สนับสนุนโรงเรือนอัจฉริยะ
โรงเรือนอเนกประสงค์ พร้อมพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
นางทับทิม แท่งคำ
ผู้อำนวยการศูนย์สารภีอุบลราชธานี ภายใต้เครือข่ายศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน
อุบลราชธานี กล่าวขอบคุณกลุ่มไทยออยล์
ที่สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ท่าช้างน้อยและผู้สนใจทั่วไป
ให้มีพื้นที่เรียนรู้และต่อยอดช่องทางการสร้างรายได้ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้กับชุมชนและเกษตรกร
โครงการ Smart Farming เป็นโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเกษตรกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มาเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างอาชีพสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรเป็น
"แหล่งเรียนรู้ต้นแบบ เกษตรอัจฉริยะ"
ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับ
ไปปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนต่อไป