หอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) หนุน3 การไฟฟ้า ผุดโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (สมาร์ทกริด)


หอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) หนุน3 การไฟฟ้า ผุดโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (สมาร์ทกริด)

 

หอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) โดยความร่วมมือกับสมาคมธุรกิจเยอรมัน เอเชีย-แปซิฟิ ก (OAV) ภายใต้โครงการ

Energy Efficiency-made in Germany ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน (BMWi) ของ

ประเทศเยอรมัน จัดงานประชุมเทคโนโลยีเยอรมัน-ไทย โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา โดย

มีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากประเทศไทย เยอรมันและประเทศอื่นๆในอาเซียนเข้าร่วมกว่า 200 คน

 

งานประชุมเทคโนโลยีเยอรมัน-ไทย โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (สมาร์ทกริด โซลูชั่นส์ ไทยแลนด์) ได้รับเกียรติจากหน่วยงาน

ทางด้านพลังงานของภาครัฐอาทิ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้ านครหลวง (กฟน.)การ

ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (พีอีเอ.)คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยี

แห่งเอเชีย (เอไอที) และตัวแทนภาคธุรกิจจากเยอรมนีมาร่วมบรรยาย

 

นาย สุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2554 ทางกฟผ.

มีแผนที่จะปรับปรุงระบบส่งกระแสไฟฟ้าให้มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเพิ่มความสามารถในการ

เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของอาเซียนและของจีนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงให้ได้ด้วย

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (สมาร์ทกริด) เป็นโครงการระยะยาว ที่จะปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าในปัจจุบัน ให้รองรับการเปลี่ยน

ผ่านทางเทคโนโลยีที่ฉลาดขึ้นจากการที่พลังงานทดแทนเริ่มเข้ามามีบทบาท ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้า จะไม่ได้เป็นแค่ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่

เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบ (กริด) และเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นผู้ผลิต

ไฟฟ้ารายย่อยได้ด้วย ดังนั้นระบบส่ง จะต้องเพิ่มความสามารถด้านไอซีที เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนจากการสื่อสารทาง

เดียว เป็นการสื่อสารสองทาง เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูล คำนวณความต้องการใช้ไฟฟ้า และคิดราคาจากไฟฟ้าที่แต่ละ

ครัวเรือนสามารถผลิตได้ด้วย รวมไปถึงระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น แบตเตอรี่ ระบบโทรคมนาคมไร้สาย ซอฟท์แวร์ต่างๆ ก็

จะต้องรองรับข้อมูลการใช้และการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มเข้ามาเช่นกัน

โครงการนำร่องที่เมืองพัทยา เป็นโครงการที่ใหญ่และใกล้เคียงการนำมาปรับใช้กับกรุงเทพฯมากที่สุด เพราะความเป็น

เมืองและเขตที่อยู่อาศัย ทำให้มีรูปแบบการใช้ไฟฟ้าคล้ายกับกรุงเทพฯ และมีพื้นที่จำกัดเขตเพื่อการเก็บข้อมูลที่แน่นอน

จากการศึกษาแล้วพบว่าหากนำสมาร์ทกริดมาใช้จะทำให้เกิดประโยชน์ในรูปของตัวเงินไม่น้อย นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อ

สิ่งแวดล้อมและสังคมส่วนรวมโดยอ้อมด้วยโครงการนำร่องอื่นๆเช่นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือที่เกาะกูด เป็นอีกตัวอย่างที่

เหมาะแก่การนำสมาร์ทกริดมาใช้เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งของทั้งสองแห่งอยู่ห่างไกลแหล่งผลิตไฟฟ้าอื่นๆโดยมีป่าเขาและ

ทะเลขวางกั้นไว้ทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าไปจากแหล่งผลิตที่อยู่ไกล ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ผู้ใช้ไฟฟ้าราย

ย่อยจะได้ประโยชน์มากขึ้น หากสามารถผลิตไฟฟ้าในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบได้เอง นอกจากนี้ด้วย

ความที่ทั้งสองแห่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ปัจจัยเหล่านี้ เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนมหาศาล

 

ตัวแทนบริษัทเยอรมันแห่งหนึ่งกล่าวว่า รู้สึกยินดีที่เห็นองค์กรภาครัฐที่สำคัญของไทย 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

แห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รู้สึกตื่นตัว และวางแผนระยะยาวที่จะทำให้เกิด

สมาร์ทกริดในอนาคต เพราะแกนหลักสองอย่างที่ทำให้เศรษฐกิจดำเนินไปได้ ก็คือระบบสื่อสารโทรคมนาคม และ

พลังงาน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้นับวันก็ยิ่งต้องอาศัยกันและกันมากขึ้นทุกวัน อย่างไรก็ดีหน่วยงานหลักทุกแห่งควรจะพูดคุย

และสื่อสารกันในระดับนโยบายเพราะสมาร์ทกริดเป็นระบบที่โปร่งใสและต้องมีการวัดด้วยมิเตอร์คุณภาพสูง เพื่อให้เห็น

ตัวเลขที่แม่นยำ โดยภาคธุรกิจเยอรมันมีความเชี่ยวชาญด้านนี้และสามารถให้คำแนะนำได้

 

นอกจากนี้ ประเทศไทยควรจะสร้างตลาดสมาร์ทกริดที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ผู้วางนโยบาย ผู้ดำเนินการ และผู้ใช้

ไฟฟ้า เพราะระบบสมาร์ทกริดที่ประสบความสำเร็จทั่วโลกล้วนมีตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนทั้งสิ้น

Comment : หอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) หนุน3 การไฟฟ้า ผุดโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (สมาร์ทกริด)
รายการอื่นๆที่น่าสนใจ